Aerobic – ต้องการออกซิเจนเพื่อดำรงชีวิต

Anaerobic – เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนในปริมาณน้อย หรือหมายถึงไม่มีออกซิเจน หรือหมายถึงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ต้องการออกซิเจนในปริมาณน้อย หรือไม่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต

Bio agriculture – (การเกษตรชีวภาพ) – วิธีการเกษตรที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชพันธุ์ทุกชนิด โดยให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ใช้องค์ประกอบทางธรรมชาติเท่านั้น เป็นการพัฒนาการพึ่งตนเอง เป็นการทำงานร่วมกับเครือข่ายจัดจำหน่ายอื่นๆ

Biomass – มวลสะสมของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อยู่สภาพแวดล้อมใดสภาพแวดล้อมหนึ่ง อัตราส่วน คาร์บอน: ไนโตรเจน – อัตราส่วนที่แสดงน้ำหนักของจำนวน คาร์บอน ต่อ ไนโตรเจน 1 ส่วน อัตรานี้ยังแสดงความสมบูรณ์ของปุ๋นหมัก ปุ๋ยหมักที่ดีนั้น ต้องนี้อัตราส่วน คาร์บอน ต่อ ไนโตรเจน ต่ำว่า 20 ต่อ 1

คาร์บอน สัดส่วนไนโตรเจน – สัดส่วนที่แสดงเป็นน้ำหนักของคาร์บอนต่อไนโตรเจน สัดส่วนนี้ยังแสดงถึงความพร้อมหรือระยะบ่มของปุ๋ยได้ด้วย ปุ๋ยหมักที่ดีนั้นควรมีสัดส่วนคาร์บอน/ไนโตรเจนต่ำกว่า 20/1

Cellulose – สารประกอบชีวภาพ ที่มีมากที่สุดบนโลกนี้

ปุ๋ยหมัก – เป็นสสรที่ผลิตขึ้นโดยวิธีชีวภาพ โดยการเติมเศษของเหลือจากธรรมชาติ เมื่อผ่านขั้นตอนบางอย่าง สสารดังกล่าวจะพร้อมใช้งานกับดิน ในลักษณะปุ๋ย หรือสารปรับคุณภาพดิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะ

Dolomite – แคลเซียม แมกนีเซียมคาร์บอเนต (แมกนีเซียมไมล์) Dolomite มักใช้กับดินที่มีค่า PH สูง

Eutrophy – หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของสารอาหารในแหล่งน้ำ หรือทะเลสาบ ที่มากเกินไป ทำให้เกิดการเติบโตของพืช และจุลินทรีย์ในอัตราอย่างรวดเร็ว และทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง

Humification – กระบวนการทางชีววิทยา ที่เปลี่ยนสารอินทรีย์ ให้เป็นฮิวมัส

Humus – ดินชั้นแรก หรือบางครั้งเรียกกันว่า vegetable soil

Intercropping – วิธีการเกษตรในการเพาะปลูก พืช 2-3 ชนิด ในเวลาเดียวกัน เพื่อเพิ่มผลผลิตของพืชหลัก การเพาะปลูกนี้ เมื่อทำเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะลดความต้อง หรือความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยเคมี

สารอาหารขนาดใหญ่ (Macro nutrients) – องค์ประกอบที่เป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับพืช มักมีค่าเป็น เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปรแตสเซียม สารอาหารขนาดใหญ่อื่นๆ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์

สารอาหารขนาดเล็ก (Micro nutrients) – สารอาหารทั้งหมดที่จำเป็นต่อพืช นอกเหนือจากสารอาหารหลักที่กล่าวมาข้างต้น (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปรแตสเซียม) สารอาหารเหล่านี้มีความจำเป็นสำหรับพืช เพื่อใช้ในการเติบโต หากพืชขาดสารอาหารเหล่านี้ การเติบโตจะชะลอลง สารอาหารขนาดเล็กทีสำคัญได้แก่ โบรอน คอปเปอร์ สังกะสี เหล็ก คลอรีน (Molybdenum (MO) และแมงกานีส (Mn)

Mineralized – กระบวนการทางชีวภาพในการเปลี่ยนแปลงสารประกอบอินทรีย์ให้เป็นสารประกอบอนินทรีย์ (เกลือแร่)

Monoculture – วิธีการเกษตรในการปลูกพืชชนิดเดียว ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยไม่เพิ่มความหลากหลาย

Mulch – (ปุ๋ยเศษใบไม้) เศษของเหลือจากธรรมชาติทุกชนิด ที่ใช้สำหรับคลุมดินเพื่อให้ความชุ่มชื้นในดิน ปรับอุณหภูมิของดิน และช่วยลดการพังทลายหน้าดิน ปุ๋ยชนิดนี้ไม่ได้มีสารอาหารในปริมาณมากนัก

Nitrogen – เป็นสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของพืช ไนโตรเจนนั้นมีความจำเป็นในช่วงที่พืชเริ่มผลิใบ (ช่วงเริ่มต้นของรอบเพาะปลูกประจำปี ไนเตรท เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของไนโตรเจน ที่พืชมักนำมาใช้งาน

N-P-K – สัญลักษณ์ที่แสดงคุณภาพปุ๋ย ซึ่งแสดง ซึ่งแสดงปริมาณของ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมตามลำดับ

OM – ตัวย่อของ Organic Matter (องค์ประกอบอินทรีย์)

ปุ๋ยชีวภาพ  – ปุ๋ยที่ทำขึ้นจากวัตถุดิบชีวภาพ ใช้ระยะเวลาหมักในช่วงเวลาหนึ่ง และไม่มี EM (จุลินทรีย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพ) นอกจากว่ามีการผลิตขึ้นเอง

Organic Matter (องค์ประกอบอินทรีย์) – ส่วนหนึ่งของดินที่ประกอบด้วยสารอาหาร และจุลินทรีย์ องค์ประกอบอินทรีย์นั้น เป็นแหล่งสำคัญของคาร์บอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเติบโตของพืช เนื้อดินที่มีปริมาณองค์ประกอบอินทรีย์ในระดับต่ำนั้น ต้องมีการเพิ่มองค์ประกอบจากธรรมชาติเข้าไป เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเศษใบไม้ หรือปุ๋ยชีวภาพ

Pedology – การศึกษา หรือวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับดิน

pH – แสดงความเป็นกรดด่างในดิน ดินที่มีค่าเป็นกลางนั้น จะมีค่า PH 7.0 และจะขาดความเป็นกลางเมื่อค่า PH ต่ำกว่า 6 การแก้ปัญหาค่า PH ต่ำนั้น สามารถทำได้โดยการเพิ่มแคลเซียม และแมกนีเซียมเข้าไป ซึ่งสามารถพบได้ในสารบางอย่าง เช่น Dolomite

Phosphorus – มีสัญลักษณ์คือ P เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หากใช้ในปริมาณมาก แต่มีความสำคัญต่อพืช เนื่องจากเป็นสารอาหารชนิดหนึ่ง ฟอสฟอรัสนั้นมีความจำเป็นในช่วงที่พืชเริ่มออกผล และจะช่วยเสริมระบบราก และความต้านทานของพืชได้

Potassium – มีสัญลักษณ์คือ K โปรแตสเซียมนั้น มีความจำเป็นในช่วงที่พืชนั้นเริ่มออกดอก แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่ผลไม้ หรือ ผักกำลังเจริญเติบโตเต็มที่

Rhizosphere – พื้นที่ของดินที่อยู่ในบริเวณใกล้ชิดกับราก หรือรากฝอยของพืช

Substrate – เป็นสารอาหารของจุลินทรีย์

การพัฒนาที่ยั่งยืน – แนวคิดที่เกิดขึ้นในช่วงกลางปี ค.ศ.1980 ซึ่งรวมเอาลักษณะในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นมีเป้าหมายคือ ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน โดยไม่ทำลายความต้องการในอนาคต สภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร สังคมที่เท่าเทียมกัน และเศรษฐกิจที่เติบโตได้ ทั้งหมดเป็นจุดประสงค์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน